วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บ้านสกาดเหนือ หมู่ที่ 1

 บ้านสกาดเหนือ  หมู่ที่  1
 ที่ตั้ง
           ตั้งอยู่  หมู่ที่  1  ตำบลสกาด  อำเภอปัว  จังหวัดน่าน  อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอปัว ประมาณ  27  กิโลเมตร  อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ   994  เมตร

ประวัติความเป็นมา 
          บ้านสกาดเหนือ  หมู่ที่  1  ถือว่าเป็นบ้านบรรพบุรุษของตำบลสกาด  เป็นต้นตระกูลของตำบลสกาด  มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน  ดังนี้
          ถิ่นฐานเดิมตั้งอยู่ที่ตำบลบ่อเกลือ  อำเภอบ่อเกลือ  จังหวัดน่าน  ต่อมาการทำมาหากินไม่สะดวกจึงได้อพยพย้ายถิ่นฐานหลายครั้งตามลำดับ  คือ
1.       บ้านบอน ตำบลสถาน  อำเภอปัว
2.       บ้านนาฝาง  ตำบลสถาน อำเภอปัว
3.       ย้ายขึ้นมาอยู่ที่  ดงชะวัด  อำเภอปัว
4.       ห้อยยอ  ตำบลภูคา  อำเภอปัว
5.       บ้านสกาดกลางปัจจุบัน
6.       บ้านสกาดเหนือ
          บ้านสกาดเหนือเดิม  เป็นหมู่ที่  14   ตำบลสถาน  อำเภอปัว  จังหวัดน่าน  ประมาณ  2523  ทางราชการได้แยกตำบลสกาดออกจากตำบลสถาน  บ้านสกาดเหนือได้รับการแต่งตั้งเป็นบ้านหมู่  1  ตำบลสกาด  อำเภอปัว  จังหวัดน่าน   ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน  คือ  นายทาน  พิศุทธิ์   ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านเป็นคนที่  8  รับตำแหน่งมาเป็นเวลา  16  ปี และดำรงตำแหน่งกำนันตำบลสกาดจนถึงปัจจุบัน

สภาพภูมิศาสตร์ และการคมนาคม
          อาณาเขต         ทิศเหนือ          ติดกับป่าไม้ดอยภูคา  ตำบลภูคา  อำเภอปัว
                             ทิศใต้             ติดกับโรงเรียนสกาดพัฒนา
                             ทิศตะวันตก      ติดกับบ้านภูกอก  หมู่ที่  4   ตำบลสกาด   อำเภอปัว
                             ทิศตะวันออก     ติดกับป่าไม้ดอยภูผาแดง  ตำบลภูคา   อำเภอปัว
          เส้นทางการคมนาคม  จากอำเภอปัวมาถึงหมู่บ้านสกาดเหนือใช้เส้นทางสายบ้านนาฝาง  -  สกาด  ซึ่งเป็นทางแยกจากทางหลวงแผ่นดินสายน่าน ทุ่งช้าง  เป็นถนนลาดยางประมาณ  24  กิโลเมตร  (กรมโยธาธิการ)   การคมนาคมจะเดินทางได้สะดวกรถโดยสารประจำทางวิ่งจาหมู่บ้านถึงอำเภอปัว วันล  2  เที่ยวทุกวัน
          การสื่อสาร  หมู่บ้านสกาดเหนือไม่มีตู้โทรศัพท์สาธารณะขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจะใช้โทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์ฯที่หมู่บ้านอื่น  คือ  บ้านภูกอก  การสาธารณูปโภค  มีไฟฟ้าจาการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริการใช้น้ำจากน้ำประปาภูเขา

ประชากร
          ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าถิ่น (ลัวะ)  มีประชากรทั้งหมด  จำนวน   428  คน  แยกเป็นชาย  จำนวน  216  คน  เป็นหญิง  จำนวน   212   คน  จำนวนครัวเรือนทั้งหมด  103 ครัวเรือน  (สถิติปี  2548)   มีเนื้อที่ประมาณ   5,000  ไร่
          ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร   ทำไร่เลื่อนลอยปลูกข้าว  ข้าวโพดพืช  เศรษฐกิจของหมู่บ้าน  คือเมี่ยง  รายได้ส่วนใหญ่ของประชากรมาจากสินค้าทางการเกษตร  เฉลี่ยรายได้ต่อครอบครัวประมาณ  3,000  -  4,00  บาท/ปี

ศาสนา  วัฒนธรรมและประเพณี
          ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธแต่ยังมีความเชื่อในเรื่องของไสยศาสตร์สิ่งลี้ลับที่มองไม่เห็นอยู่มีพิธีกรรมที่สืบทอดต่อๆกันมา  คือประเพณีการตีพิ  การสงเคราะห์   การสะเดาะเคราะห์   การเรียกขวัญ  สู่ขวัญเป็นต้น การแต่งกาย  ผู้ชายนิยมใส่เสื้อแขนกระบอก  กางเกงขาก๊วย  (เตี่ยวสามดูก)ผู้หญิงใส่เสื้อแขนกระบอก  นุ่งผ้าถุง  (ผ้าชิ่น)  ปัจจุบันทั้งชายและหญิงนิยมแต่งกายตามสมัยนิยม

ภูมปัญญาท้องถิ่น
              ภูมิปัญญาชาวบ้าน  ส่วนมากเป็นเครื่องจักสานใช้ในครัวเรือน  การทำหน้าไม้  การทำกับดักหนู  กระต่ายหรือสัตว์เล็กๆสำหรับใช้เป็นอาหาร)
              ประเพณี  มีประเพณีการเรียกขวัญข้าว  จะทำหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวไร่เสร็จ  ประเพณีตีพิ  ซึ่งทำมาจากกระบอกไม้ไผ่มีไว้สำหรับตีตามจังหวะเพลงที่คิดขึ้นเอง(คล้ายเทศกาลผีตาโขนของจังหวัดเลย)

            

สถานที่สำคัญและสถานที่ท่องเที่ยว

          ดอยภูหวด  ซึ่งเป็นเขาสูงที่สุดในอำเภอปัว  เดินทางโดยรถมอเตอร์ไซค์และเดินเท้าต่ออีกประมาณ  1,000   เมตร  บนยอดเขามีทิวทัศน์ที่สวยงามมากสามารถมองเห็นอำเภอปัว  อำเภอเชียงกลาง  ตำบลภูคา  และจังหวัดใกล้เคียง  เช่น  จังหวัดเชียงราย  จังหวัดพะเยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น